เมนู

ตถาคตเจริญแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติใดของโลกพร้อมทั้ง
เทวดา ฯ ล ฯ ธรรมชาตินั้นทั้งหมดตถาคตตรัสรู้แล้ว เหตุนั้น จึงได้
พระนามว่า ตถาคต ดังนี้ พึงทราบเนื้อความแห่งคำนั้นแม้อย่างนี้. อนึ่ง
แม้ข้อนี้ก็เป็นเพียงมุขในการแสดงภาวะที่พระตถาคตมีพระนามว่าตถาคต
เท่านั้น. ที่จริง พระตถาคตเท่านั้น จะพึงพรรณนาภาวะที่พระตถาคตมี
พระนามว่า ตถาคต โดยอาการทั้งปวงได้.

อธิบายคำ ปุจฉา


คำว่า กตมญฺเจตํ ภิกฺขเว เป็นต้น ความว่า พระผู้มีพระภาค
เจ้า
ตรัสถามข้อที่ปุถุชนเมื่อกล่าวชมตถาคต จะพึงกล่าวด้วยประการใด
ซึ่งมีประมาณน้อยนัก ยังต่ำนัก เป็นเพียงศีล นั้นว่าเป็นไฉน ?
ชื่อว่าคำถามในพระบาลีนั้น มี 5 อย่าง คือ
1. อทิฏฐโชตนาปุจฉา คำถามเพื่อส่องลักษณะที่ยังไม่เห็นให้
กระจ่าง
2. ทิฏฐสังสันทนาปุจฉา คำถามเทียบเคียงลักษณะที่เห็นแล้ว
3. วิมติเฉทนาปุจฉา คำถามเพื่อตัดความสงสัย
4. อนุมติปุจฉา คำถามเพื่อการรับรอง
5. กเถตุกัมยตาปุจฉา คำถามเพื่อประสงค์จะตอบเอง
ในบรรดาคำถามเหล่านั้น อทิฏฐโชตนาปุจฉา เป็นไฉน ? ตาม
ปกติลักษณะที่ยังไม่รู้ ยังไม่เห็น ยังไม่ได้พิจารณา ยังไม่ได้ไตร่ตรอง
ยังไม่แจ่มแจ้ง ยังไม่ได้อธิบาย บุคคลย่อมถามปัญหา เพื่อรู้ เพื่อเห็น
เพื่อพิจารณา เพื่อไตร่ตรอง เพื่ออธิบายลักษณะนั้น นี้ชื่อว่า อทิฏฐ-